เทคนิคสำหรับมือใหม่เพื่อการถ่ายภาพที่คมชัด
เทคนิคสำหรับมือใหม่เพื่อการถ่ายภาพที่คมชัด ขาตั้งกล้องเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่จำเป็นมากสำหรับช่างภาพ ขาตั้งกล้องสามารถช่วยเหลือช่างภาพได้ในหลายๆสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการถ่าย Landscape, ถ่ายสินค้าในสตูดิโอ หรือในสถานการณ์อื่นๆ ที่ต้องการความมั่นใจว่าการถ่ายภาพได้ออกมาคมชัดอย่างแน่นอน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ขาตั้งกล้องนั้นจะต้องให้ความมั่นคง สามารถที่จะถ่ายภาพ Long Exposure ได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลว่ากล้องจะสั่น และจะช่วยทำให้ช่างภาพถ่ายภาพออกมาได้ดีที่สุดในสถานการณ์ที่มีแสงน้อย
การถ่ายภาพให้คมชัด เป็นปัญหาอันดับเเรก ๆ ของมือใหม่หัดถ่ายเลยล่ะ ถ่ายมาเเล้วมัว ไม่โฟกัส เบลอ และถ้ายิ่งต้องถ่ายวัตถุที่มีขนาดเล็ก หรือสัตว์ตัวเล็ก ก็ยิ่งยากเข้าไปอีก นี่ยังไม่นับรวมการถ่ายในที่เเสงน้อยอีกนะ

การถ่ายภาพให้คมชัด คือการจับโฟกัสไปที่ตัวเเบบ หรือวัตถุ โดยที่เส้นขอบของวัตถุนั้น คมชัด รายละเอียดชัด ไม่เบลอ ถ้าทำภาพให้ชัดได้ ก็สะดุดตาคนมองภาพเเล้วล่ะ จะถ่ายภาพให้คมชัด จะทำได้โดยวิธีไหนบ้าง ลองมาศึกษาด้วยกันกับ 9 เทคนิคสำหรับมือใหม่เพื่อการถ่ายภาพที่คมชัด

9 เทคนิคสำหรับมือใหม่เพื่อการถ่ายภาพที่คมชัด
1. ใช้ค่ารูรับเเสงที่ไม่กว้าง (ประมาณ f8)
รูรับเเสงเป็นค่าที่ต้องปรับก่อน อย่างเเรกเลย (เเล้วค่อยปรับค่าอื่นตาม) รูรับเเสงกว้างจะเพิ่มความฟุ้งให้กับภาพ ดังนั้นค่ารูรับเเสง โดยทั่วไปควรอยู่ประมาณ f8 เเต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะถ่ายภาพอะไรและส่วนไหนชัดบ้างนะ เช่น อาจจะตั้งค่าให้หน้าชัดหลังเบลอสำหรับการถ่ายภาพคน หรือชัดทั้งภาพเพื่อเก็บรายละเอียดวิว ก็เเล้วเเต่เลย

2. ปรับให้โฟกัสอยู่ที่จุดเดียว
การปรับโฟกัสให้อยู่ที่จุดเดียว เป็นการบอกกล้องให้จับโฟกัส และทำให้คมชัดในจุดนั้น และก่อนที่จะกดชัดเตอร์ ให้กดลงไปเพียงครึ่งหนึ่ง เพื่อให้กล้องได้มีโอกาศจับโฟกัส ปรับเเสง เพื่อจะให้ได้ภาพที่คมชัดมากยิ่งขั้น

3. ปรับ ISO ให้ต่ำลง
ค่า ISO ที่สูง จะทำให้ภาพเปิด noise ภาพ ทำให้ภาพโดยรวมเเล้ว ไม่คมชัด ซึ่งค่าที่ต่ำที่สุดที่จะทำได้ ของกล้องเเต่ละเเบรนด์ก็เเตกต่างกัน ปกติเเล้วก็จะอยู่ที่100 หรือ 200 ปรับให้ต่ำเข้าไว้ เเต่ก็ต้องดูความสมดุงของ ค่ารูรับเเสง ISO เเละ ความเร็วชัตเตอร์ด้วย

4. ใช้เลนส์ที่เหมาะสมตามจุดประสงค์ของภาพที่จะถ่าย
เลนส์ที่มีคุณภาพ ก็จะให้คุณภาพของภาพที่สูง เเละคมชัด อาจจะจริงอยู่ที่เลนส์ที่ดีมักมีราคาเเพง ถือซะว่าลงทุนเพื่อให้ได้ภาพสวย สีสด คมชัด คุ้มค่าคุ้มราคา กันน้ำ กันฝุ่น กันรอยขีดข่วนก็ได้ด้วย

5. ตรวจดูความคมชัดของภาพบนจอ LCD ทุกครั้งหลังจากที่ถ่ายภาพไปแล้ว
กล้องดิจิตอลช่วยให้การถ่ายภาพเเละการตรวจสอบความคมชัดของภาพง่ายขึ้น เพราะเพียงดูภาพที่ถ่ายจากจอ LCD ก็จะรู้ว่าภาพคมชัด หรือต้องถ่ายซ่อมหรือไม่ ไม่เหมือนกับกล้องฟิล์มที่ต้องรอล้างฟิล์มถึงจะรู้ว่า ภาพที่ถ่ายมาเบลอ ใช้ไม่ได้

6. ตั้งกล้องให้นิ่งด้วยขาตั้งกล้อง
ใช้ขาตั้งกล้องเพื่อลดการสั่นไหวของกล้อง ควรเลือกขาตั้งกล้องที่มั่นคง อาจจะลงทุนนิดหน่อย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ ดีกว่าขาตั้งที่ไม่เเข็งเเรง ทรงตัวไม่ดีก็อาจจะสร้างความเสียหายต่อกล้องได้ เทคนิคที่จะทำให้ขาตั้งกล้องมั่นคงขึ้น ทนต่อการปะทะกับลมได้ คือการถ่วงน้ำหนักไว้ด้านล่างขาตั้งกล้อง ช่างภาพบางคนถึงขั้นต้องพกลูกตุ้ม หรือถุงไว้ถ่วงน้ำหนักเลยทีเดียว
หลีกเลี่ยงการตั้งขาตั้งให้ยาวเกินความจำเป็น
ขาตั้งกล้องที่ใช้นั้นถึงแม้ว่าจะเป็นขาตั้งกล้องที่ดีมาก แต่การกางขาสุด หรือสูงเกินความจำเป็นนั้นมีโอกาสที่จะทำให้ขาตั้งกล้องไม่มั่นคงมากนัก เพราะท่อนของขาตั้งที่เป็นท่อนล่างจะมีความเล็กของขาลดลงไปเรื่อยๆ ยิ่งขาเล็กก็จะยิ่งไม่มั่นคง โดยเฉพาะขาตั้งกล้องที่มีหลายท่อน เช่น 5 ท่อน ขาท่อนล่างสุดนั้นจะเล็กมาก และเวลากางขาตั้ง ถ้าเราไม่ต้องการจะกางหมดทุกท่อนควรจะกางจากท่อนบนสุดค่อยๆไล่ลงมา เพราะขาท่อนบนจะใหญ่กว่าขาท่อนล่าง รวมถึงการยืด Center Column ถ้าเรากางยืดจนสุด ก็จะมีโอกาสสั่นคลอนได้ง่ายเช่นกัน
หรือเวลาบางทีที่เราใช้เลนส์ตัวใหญ่ที่มีน้ำหนักมาก เราอาจจะหาอะไรมาถ่วงน้ำหนักไว้ เช่น กระเป๋ากล้องของเรา เราสามารถแขวนไว้ด้านล่าง Center Column เพื่อถ่วงน้ำหนักในกรณีที่มีลมพัดแรง เพื่อไม่ให้ขาตั้งกล้องล้มได้

7. ใช้รีโมตควบคุม เเละสายลั่นชัตเตอร์
การกดไปที่ตัวกล้อง ก็สร้างความสั่นสะเทือนให้กับตัวกล้องได้ เเละเมื่อตัวกล้องสั่นไหว ก็ทำให้ภาพสั่นไหว ไม่คม นั่นเอง ดังนั้นลดปัจจัยที่ทำให้กล้องสั่นไหว คือการใช้สายลั่นชัตเตอร์ หรือการควบคุมกล้องระยะไกล โดยใช้รีโมต หรือ การตั้งเวลาถ่ายภาพ ก็ได้

8. ปิดกันสั่นของตัวกล้องและเลนส์
ปิดโหมดกันสั่น VR/IS ของเลนส์
เลนส์สมัยใหม่โดยมากนั้นจะมีระบบกันสั่นติดมาด้วย ( VR , IfS ) ระบบกันสั่นนี้จะช่วยได้เป็นอย่างมากในการป้องกันการสั่นไหวของกล้องเมื่อใช้มือถือกล้องและถ่ายภาพ แต่ถ้าใช้ขาตั้ง กล้องแล้วระบบนี้ทะลดทอนความคมชัดของภาพถ่าย เพราะว่า ระบบนี้จะทำให้มีการสั่นไหวเพียงเล็กน้อยเปรียบเสมือนการสั่นไหวของมือ เพื่อต้านการสั่นไหว ทำให้ภาพมีความคมชัดแค่ในระดับหนึ่งแต่ยังไม่คมชัดที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ขาตั้งกล้องในการถ่าย Landscape Long Exposure ในที่ที่มีแสงน้อยแล้วใช้รูรับแสงที่แคบ เพื่อความคมชัดมากๆควรปิดโหมดกันสั่นซะ
เลนส์เเละกล้องส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีกันสั่นอยู่ในตัว เพื่อรักษาเสถียรภาพให้ตัวกล้อง เเต่เมื่อนำกล้องติดไว้กลับขาตั้งกล้องเเล้ว ระบบของกล้องอาจจะมีความสับสนเกิดขึ้น เมื่อไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ดังนั้นจึงควรปิดกันสั่นของกล้องเเละเลนส์ขณะที่เสียบไว้กับขาตั้งกล้องด้วยล่ะ เพื่อป้องกันการสับสนของระบบ เเละภาพจะมีความคมชัดมากขึ้นด้วย

9. ใช้ MIRROR LOCK-UP
อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กล้องสั่นไหวได้ ก็คือบานกระจกตรงเซ็นเซอร์ เมื่อกดชัตเตอร์ กระจกจะตีกลับ ทำห้เกิดการสั่นไหวขึ้นดังนั้น ถ้าสามารถปิดได้ ก็ปิดเพื่อลดการสั่นไหวของตัวกล้องนั่นเอง
